วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงหมู ( หลุม )




ในปัจจุบันการเลี้ยงหมูบ้าน มีทั้งน้ำเสีย และขี้หมูทีส่งกลิ่นเหม็นกระจายไปทั่ว ส่งผลกระทบทำให้สิ่งแวดล้อมเลวลง เพื่อนบ้านใกล้เคียงก็ทนกลิ่นเหม็นไม่ไหวทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ตลอด ซึ่งแต่เดิมเรานิยมเลี้ยงหมูไว้ประมาณ 1-2 ตัว เพื่อเอาไว้กินเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน แล้วหาผักหญ้า ต้นกล้วย บอน มะละกอ เอามาเสริมทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูงเกินไป เป็นการเลี้ยงหมูแบบเก็บออมเงิน เป็นหมูออมสิน แต่ต่อมาวิวัฒนาการด้านอาหารสัตว์ ก้าวหน้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่นสามารถให้อาหารสำเร็จแก่ลูกหมูหย่านม เลี้ยงด้วยอาหาร 4-5 เดือน ก็สามารถทำน้ำหนักตัวได้ถึง 100 กก. แต่เมื่อคิดดูค่าอาหาร การจัดการและเทคโนโลยี แล้วเปรียบเทียบกับราคาขายในท้องตลาด ปรากฏว่า “ ขาดทุน ” ดังคำกล่าวที่ว่า “เลี้ยงหมูให้เจ๊ก” ทุนหาย กำไรหด หลายคนเลิกเลี้ยงกันแล้วหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน

จากข้อความดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า “ ทำไมเราไม่กลับไปเลี้ยงหมูแบบเดิม หรือการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติหละ ” แต่ก็มีเสียงบอกมาว่า “ มันใช้เวลานานและพวกต้นกล้วย บอน มะละกอ หรือพืชผักต่างๆ ที่เป็นอาหารให้หมูก็ไม่ค่อยมี ขี้หมูก็มีกลิ่นเหม็นโชยไปทั่ว ทำให้ไม่อยากเลี้ยง ” แต่จากการศึกษาพบว่าการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม) นอกจากจะให้กำไรงามแก่ผู้เลี้ยง เนื่องจากสามารถลดต้นทุนอาหารได้ถึง 70 % แล้วยังทำให้ภารกิจการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเบาแรงลง ไม่ต้องกวาดพื้นคอกกำจัดขี้หมู ไม่มีกลิ่นขี้หมู ไม่เฉอะแฉะ และไม่มีแมลงวันตอม จนสามารถห่อข้าวไปกินในพื้นคอกหมูได้โดยไม่น่ารังเกียจอีกทั้งดินและขี้หมูก็สามารถนำไปทำปุ๋ยขายได้อีก เขาทำกันอย่างไร...ไปดูกัน



โรงเรือน

ขนาดของคอก กว้าง 3.6 เมตร x ยาว 8.1 เมตร ( ประมาณ 30 ตารางเมตร ) สำหรับเลี้ยงหมูได้ 25 ตัว (หมู 1 ตัว ใช้พื้นที่ประมาณ 1.2 ตารางเมตร) สำหรับขนาดของคอกสามารถยืดหยุ่นได้ตามพื้นที่ ลักษณะของคอกต้องมีลักษณะโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรให้อากาศภายนอกเข้าไปในโรงเรือนมาก แล้วระบายออกไปทางด้านบน





พื้นคอก

1. ขุดดินออกให้บุกบงไปประมาณ 90 ซม. แล้วผสมวัสดุเหล่านี้ใส่แทนที่ ให้เต็ม เหมือนเดิมที่ขุดออกไป ได้แก่
1.1 ขี้เลื่อย หรือ แกลบหยาบ 100 ส่วน
1.2 ดินที่ขุดออก 10 ส่วน
1.3 เกลือ 0.3-0.5 ส่วน




เมื่อผสมแกลบ ดิน และเกลือแล้ว ให้ใช้จุลินทรีย์จากน้ำหมักพืช และจุลินทรีย์จากการ หมักนม ราดลงพื้นชั้นที่ 1 เมื่อความลึก 30 ซม. โรยดินชีวภาพเชื้อราขาวบาง ๆ และรดน้ำพอชุ่มแล้วทำเหมือนกันทุกชั้น ต่อไปโรยแกลบดิบปิดหน้าหนึ่งฝามือ แล้วปล่อยหมูลงไปได้เลย เมื่อปล่อยหมูลงไปได้สักพักแล้วก็ใช้จุลินทรีย์ 2 ช้อน ต่อ น้ำ 10 ลิตร พ่นลงพื้นคอกเป็นครั้งคราว เมื่อหมูขับถ่าย จุลินทรีย์นี้เองก็จะเป็นตัวย่อยสลายสิ่งปฏิกูลทั้งหลายลงดินไป เมื่อเลี้ยงหมูไปได้เท่านั้น แล้วก็ผสมพื้นคอกใหม่ใส่เข้าไปแทนที่เรานำไปทำปุ๋ย


พื้นคอกไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดไม่ต้องกวาด หมูจะขุดคุ้ย และมีความสุขอยู่กับการกินจุลินทรีย์ ในบรรยากาศที่สบายด้วยระบบถ่ายเทอากาศที่เป็นธรรมชาติ


การเลี้ยงดู

1. รางน้ำ และรางอาหาร ควรตั้งไว้คนละด้าน เพื่อให้หมูเดินไปมาเป็นการออกกำลังกายการให้อาหารให้เพียงวันละครั้ง

2. ให้พืชสีเขียว 1 ใน 3 ของอาหารที่ให้ เช่น หญ้าสด ต้นกล้วย มะละกอ มันเทศ หรือ วัชพืชที่หมูชอบ

3. อาหารจากตลาดใช้เพียง 30 ส่วน

4. เชื้อราขาวใบไผ่ + ดิน + รำข้าว คลุกผสมไว้ 4-5 วัน เอาอาหารจากตลาดผสมอย่างละครึ่งหมักรวมกันก่อน 24 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปให้หมูกิน หากมีความสามารถหาหอยเชอรี่ นำมาบดผสมลงไปก็จะลดต้นทุนมาก ไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารจากตลาด ส่วนพืชสีเขียวนำมาสับให้กินเป็นอาหารเสริม

5. น้ำดื่ม การผสมน้ำดื่มสำหรับหมู จะใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ผสมกันดังนี้

5.1 หัวเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อน

5.2 น้ำฮอร์โมนสมุนไพร 1 ช้อน ( เหล้าดองยา )

5.3 นมเปรี้ยว 3 ช้อน

5.4 น้ำสะอาด 10 ลิตร

ผสมให้ดื่มเป็นประจำ หากพื้นคอกแน่น หรือแข็ง ก็ใช้น้ำหมักดังกล่าวพ่น หรือราดจะทำให้พื้นคอกมีกลิ่นหอมจูงใจให้หมูขุดคุ้ย และยังทำให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท และ เกิดจุลินทรีย์มากมาย


จุลินทรีย์ท้องถิ่น ( ไอเอ็มโอ ) ( Indienous Micro Organism : IMO )

ในการทำการเกษตรธรรมชาตินั้น จะไม่นำเอาจุลินทรีย์ต่างพื้นที่เข้ามาใช้ รวมถึงจุลินทรีย์ที่ได้จากการผลิต หรือที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ เนื่องจากจุลินทรีย์ดังกล่าวไม่แข็งแรง และไม่มีประสิทธิภาพเมื่อนำไปสูธรรมชาติอีกครั้ง ไม่เหมือนจุลินทรีย์ดั้งเดิมในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน จนสามารถปรับตัว และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในพื้นที่ได้

การสังเกตถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวเรา ในป่าไผ่ บนใบไม้ที่กองทับถมกัน มักจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราเต็มไปหมด จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ มักจะเลือกสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง จุลินทรีย์ท้องถิ่นจะพบมากบริเวณป่าไผ่ และเศษใบไม้ที่กำลังย่อยสลาย ดังนั้นในการทำเกษตรธรรมชาติจึงมีการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่นดังนี้


--------------------------------------------------------------------------------

ราขาวจากป่าไผ่ ( เคล็ดลับทำให้ขี้หมูไม่มีกลิ่นเหม็น )



วัสดุอุปกรณ์

1. กล่องไม้สี่เหลี่ยมเล็กสูงประมาณ 10 ซม.
2. ข้าวสุก 1 ลิตร
3. ทัพพีตักข้าว
4. กระดาษขาว
5. เชือกฟาง

วิธีทำ


นำจ้าวสุกใส่กล่องไม้ที่เตรียมมา ควรใส่จ้าวหนาไม่เกิน 7 ซม. และไม่ควรกดข้าวให้แน่น เพราะจะทำให้จุลินทรีย์พวกที่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีพไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างที่ควร
คลุม/ปิดกล่องด้วยกระดาษขาว และมัดด้วยเชือกฟางให้แน่น
ฝังกล่องข้าวบริเวณป่าไผ่ หรือบริเวณที่มีใบไม้ผุเน่าสบายจากเชื้อรา ก่อนที่จะนำกล่องข้าวฝังควรนำใบไผ่มารองก้นหลุมและราดน้ำพอให้ชุ่มก่อน และค่อยฝังกล่องข้าวลงไป ต่อไปนำใบไผ่มากลบกล่องข้าว ระวังอย่าให้ใบไม้กดทับกระดาษแรงเกินไปจนทำให้กระดาษไปถูกผิวหน้าของข้าวในกล่อง แล้วจึงค่อยรดน้ำอีกหนึ่งครั้ง
คลุมพลาสติกทับอีกชั้น เพื่อป้องกันน้ำฝนซึมเข้าไปในกล่อง และป้องกันหนูไม่ให้เข้าไปกินข้าวในกล่อง ใช้เวลาประมาณ 7 วัน ก็จะได้จุลินทรีย์เชื้อราขาวคลุมเต็มผิวหน้าของข้าว เมื่อได้จุลินทรีย์เชื้อราขาวมาแล้วนำมาเก็บไว้โดยใส่โหลหรือกระตุก เพื่อนำไปไว้ใช้ต่อไป
นำมาผสมกับกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง ในอัตรา 1 : 1 แล้วนำไปใส่ถังหมักไว้ประมาณ 7 วัน ก็สามารถนำน้ำหมักนั้นมาผสมกับน้ำ และนำไปรดพื้นคอกหมูได้




--------------------------------------------------------------------------------

อาหารหมัก

วัตถุดิบ

ผลไม้/พืชสีเขียว เช่น เศษผัก เถามันเทศ เถาฟักทอง หยวกกล้วย ผักตบชวา สาหร่าย มะละกอดิบ หน่อไม้ สัปปะรด แตงโม เลือกผมไม้ต่าง ๆ กะหล่ำ มะเขือส้ม ยอกมันสำปะหลัง ใบไผ่ ใบบอน วัชพืชต่าง ๆ ฯลฯ




วิธีทำ

นำผลไม้/พืชสีเขียว 100 กก. + น้ำตาลทราย 4 กก. + เกลือเม็ด 1 กก. ใส่ถังปิดฝาทิ้งไว้ 5-7 วัน แล้วนำไปให้หมูกิน หรือนำมาผสมกับอาหารจากตลาดผสมให้พร้อมอาหาร





--------------------------------------------------------------------------------



น้ำหมักผลไม้

วัตถุดิบ

ผลไม้สุก หรือผลไม้ที่ร่วงตกใต้ต้น เช่น มะม่วง มะละกอ สัปปะรด แอปเปิ้ล มะเฟือง กล้วย ฯลฯ ถ้ามีผลไม้ไม่พอก็สามารเติมพืชอื่นที่เป็นส่วนประกอบได้ เช่น รากผักโขม มันแกว มันเทศ

แครอท มันสำปะหลัง พืชตระกูลแตง หัวผักกาด เป็นต้น





วิธีทำ

นำผลไม้ที่เตรียมไว้ 1 กก. + น้ำตาลทรายแดง 1 กก. ในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวเพิ่มน้ำตาลทรายแดงเป็น 1.2 กก. ขั้นแรกนำผลไม้ที่เตรียมไว้มาผสมกับน้ำตาลทรายแดงครึ่งกิโลที่เหลืออีกที ต่อไปก็ปิดโหลด้วยกระดาษขาวและมัดด้วยเชือกฟาง ทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน แล้วค่อยนำไปผสมกับน้ำใช้ฉีดพ่นให้กับพืชเพื่อบำรุงพืช หรือนำไปผสมน้ำให้หมูกินได้





--------------------------------------------------------------------------------




โยเกิร์ตหมู หรือ นมเปรี้ยวหมู

วัตถุดิบ

น้ำซาวข้าว
รำละเอียด
น้ำตาลทรายแดง
นมสดพาสเจอร์ไรซ์






วิธีทำ

นำน้ำซาวข้าวใส่ภาชนะ เว้นช่องว่างด้านบนไว้ 1.5 ซม. ทิ้งไว้ 7 วัน ต่อจากนั้นนำรำละเอียดโรยปิดหน้า ทิ้งไว้อีก 2 วัน หลังจากนั้นดูดออกมาในระบบกาลักน้ำ เติมนมสด พร้อมน้ำตาลทรายแดงทิ้งไว้ 7 วัน นำไปให้หมูดื่ม เพื่อระบบย่อยอาหารดีขึ้นเมื่อสัตว์มีอาการป่วย






--------------------------------------------------------------------------------



เหล้าดองยาหมู และหมากฝรั่งหมู

วัตถุดิบ

เหล้าขาว เบียร์
น้ำตาลทรายแดง
สมุนไพร หรือไม้เนื้ออ่อน เช่น กระถิน
วิธีทำ

หาขวดโหลขนาดใหญ่ชนิดที่ใช้ทำเหล้าดองยามา 1 ใบ นำสมุนไพรข้างต้นขนาด น้ำหนัก 1 กก. มาใส่โหล แล้วเทเบียร์ใส่ลงไปให้ท่วมสมุนไพร ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง แล้วนำน้ำตาลทรายแดง 0.5 กก. เทลงไป แล้วใช้กระดาษขาวปิดทับมัดด้วยเชือกฟาง ทิ้งไว้ 4-5 วัน แล้วใส่เหล้าขาวลงไปประมาณ 2 ขวด ปิดทิ้งไว้ 15 วัน ก็สามารถนำมาผสมน้ำให้หมูดื่ม ช่วยให้หมูเจริญอาหาร




--------------------------------------------------------------------------------

น้ำหมักแคลเซียม




วัตถุดิบ

เปลือกไข่ เปลือกปู เปลือกกุ้ง
น้ำหมักจากข้าวกล้อง ( น้ำส้มสายชูแท้ที่ได้จากการหมักข้าว
วิธีทำ

รวบรวมเปลือกไข่ พยายามทำให้เนื้อเยื้อด้านเปลือกไข่ในหลุดออกไป
ตำ หรือ ทุบ ให้ละเอียด
ตากแดดอ่อน หรือใช้ความร้อนอุ่น ๆ เพื่อกำจัดสารอินทรีย์ที่เกาะอยู่บนเปลือกไข่
นำเปลือกไข่ที่แห้งแล้วใส่ในภาชนะแล้วใส่ในภาชนะแล้วเติมน้ำหมักจากข้าวกล้อง (น้ำส้มสายชูแท้ที่ได้ขากการหมักข้าว) ทิ้งช่องว่างให้มีอากาศอยู่ประมาณ 30 % จะเกิดฟองปฏิกิริยาขึ้นลงอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาของการเกิดปฏิกิริยา ทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง เปลือกไข่จึงหยุดการเคลื่อนไหวขึ้นลง และสงบนิ่ง แสดงว่ากระบวนการหมักสมบูรณ์แล้ว สารละลายที่ได้จะเป็นน้ำหมักแคลเซี่ยม ในกรณีที่ใช้เปลือกปู เปลือกกุ้ง ก็ทำวิธีเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น